การค้นหาคำตอบได้โดยง่าย ไม่ได้หมายความว่า “เราแค่ต้องการคำตอบสุดท้ายหรือผลลัพธ์” องค์กรที่จะสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ต้องการเรียนรู้ขั้นตอนการค้นพบคำตอบเหล่านั้นด้วย แรงกระตุ้นแห่งความอยากรู้อยากเห็นของเราคือ ความต้องการที่จะเข้าใจ – อะไร ทำไม อย่างไร เพื่ออะไร และเพียงแค่คำตอบสุดท้ายเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เราเข้าใจกระบวนการต่างๆที่ทำให้ได้คำตอบเหล่านั้นได้”
เทคโนโลยีได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในช่วงหลายสิบปีที่ เราทุกคนมีการเชื่อมต่อกัน ผ่านเครื่องมือสื่อสาร smartphones เราพูดคุยกับใคร ซื้ออะไร และหาคำตอบให้กับคำถามใดๆ ได้ทุกเมื่อและทุกที่ที่เราต้องการ ซึ่งทำให้เราเคยชินกับการได้คำตอบเพียงแค่ปลายนิ้ว และเราก็คาดหวังในผลลัพธ์เดียวกันจากสถานที่ทำงาน ส่วนหนึ่งของความคาดหวังของเรานั้นเกิดจากนิสัยอยากรู้อยากเห็นของคนเรานั่นเอง เมื่อเราพบเจอสิ่งใหม่ๆ เราจะอยากและต้องการรู้มากขึ้น
ความรู้ที่ได้มานั้นถือว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่า เพราะมัน “ลดสถานะของความไม่รู้และความไม่แน่นอนที่ไม่พึงประสงค์” ดังที่คุณโจนาธาน ลิตแมน นักวิจัย ได้กล่าวไว้ การที่เราหาคำตอบของบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ จะก่อให้เกิดความวิตก เราอยากจะรู้ว่าสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยง หรือทำซ้ำผลลัพธ์แบบเดิมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เราพยายามทำความเข้าใจในกระบวนการเหล่านั้น เพื่อที่เราจะหลีกเหลี่ยงผลลัพธ์ที่ไม่ดี ทำซ้ำผลลัพธ์ที่ดี และหาโอกาสใหม่ๆที่ซ่อนอยู่ โดยอาศัยข้อมูลมาเป็นตัวช่วย ยิ่งมีข้อมูลเยอะเท่าไรทั้งในชีวิตส่วนตัว หรือในองค์กร ข้อมูลก็จะยิ่งช่วยให้เราหาข้อเท็จจริง สิ่งที่เกิดขึ้น และมุมมองของเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
ข้อมูลคือความรู้ เมื่อบุคคลสามารถค้นคว้าและตั้งคำถามจากข้อมูลที่เขาเหล่านั้นมีเพื่อสร้างกระบวนการตัดสินใจในแต่ละวัน เขาจะค้นพบความเข้าใจ, insight ของข้อมูล และโอกาสที่มองหา
ดาวน์โหลดเอกสารนี้ เพื่อเรียนรู้ 5 ขั้นตอนในการสร้างวัฒนธรรมการวิเคราะห์ข้อมูลแบบบริการตนเอง
Whitepapers : How to build culture of self-service analytics