คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ Stelligence ลงนามความร่วมมือ พัฒนานิสิตสู่ผู้เชี่ยวชาญในสายงานเทคโนโลยี

เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม 2567 บริษัท เอส เทลลิเจนซ์ จำกัด ร่วมกับ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีดิจิทัล (Bachelor of Engineering in Computer Engineering and Digital Technology) เพื่อพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมและการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ โดยการพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยเพิ่มทักษะและความสามารถของบุคลากรให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในระดับสากล ซึ่งมีแผนต่อยอดเพื่อขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมทุกหลักสูตรและทุกสาขาวิชาภายในคณะ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนิสิตในทุกมิติ 

โดยการพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยเพิ่มทักษะและความสามารถของบุคลากรให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในระดับสากล ซึ่งมีแผนต่อยอดเพื่อขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมทุกหลักสูตรและทุกสาขาวิชาภายในคณะ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของนิสิตในทุกมิติ 

โดยในพิธีลงนามความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ ดร. สันติสุข ลิ้มปีติเจริญโชติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จาก บริษัท เอส เทลลิเจนซ์ จำกัด เป็นผู้ลงนาม พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ นายสรุจ ทิพเสนา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ร่วมเป็นสักขีพยานในความร่วมมือครั้งสำคัญนี้

ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและสถาบันการศึกษาในครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลในประเทศไทย โดยมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีทักษะและความรู้ทันสมัย ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมดิจิทั การพัฒนาหลักสูตรจะเน้นการเรียนรู้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ซอฟต์แวร์, ความปลอดภัยไซเบอร์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อให้บัณฑิตพร้อมรับมือกับความท้าทายในโลกดิจิทัล

พร้อมทั้งสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความสามารถทางดิจิทัลของประเทศ ความร่วมมือนี้ยังช่วยเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตในการรับมือกับโอกาสและความท้าทายใหม่ ๆ ในโลกเทคโนโลยี โดยการเสริมทักษะการทำงานจริงผ่านการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ส่งผลให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลและสร้างความก้าวหน้าในอนาคตได้อย่างยั่งยืน